ไขกระดูกบกพร่อง แม้เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่ก็มีโอกาสพบในคนทั่วโลก และยังพบในผู้ที่อายุยังน้อยด้วย สกัดการลุกลามไปเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี
ไขกระดูกบกพร่อง เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่ก็ยังพบอยู่ในประชากรทั่วโลก และกลายเป็นโรคที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อดาราสาวสวย นิ้ง กุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา ผู้ผันตัวจากนางเอกมาเป็นนางฟ้า ต้องหยุดบินและพักเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจากอาการจ้ำเลือดตามร่างกาย จนล่าสุดคุณหมอระบุว่าเป็นโรคไขกระดูกบกพร่อง
สาเหตุการเกิดโรคไขกระดูกบกพร่อง
โรคไขกระดูกบกพร่อง หรือ ไขกระดูกเสื่อม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Myelodysplastic syndrome (MDS) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเซลล์เม็ดเลือดแดง จนไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่สมบูรณ์ได้เหมือนคนปกติ
ตัวสาเหตุที่แท้จริงจากโรคไขกระดูกบกพร่องนี้ ปัจจุบันทราบแค่ว่าเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) บริเวณไขกระดูก ผลิตเซลล์เม็ดเลือดออกมาผิดปกติ สาเหตุอาจมาได้จาก
- เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมในร่างกายของผู้ป่วยเอง
- จากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อเซลล์ต้นกำเนิด เช่น ได้รับสารเคมี หรือ รังสีบำบัด
- รูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ หรือได้รับไวรัสบางชนิด
สรุปคือ โรคไขกระดูกบกพร่อง คือโรคไม่ติดต่อ แต่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้
ไขกระดูกบกพร่อง อาการเป็นอย่างไร
อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไขกระดูกบกพร่อง พบว่าจะเหนื่อย อ่อนเพลีย เพราะเป็นผลมาจากเม็ดเลือดแดงต่ำมีออกซิเจนไม่เพียงพอให้ร่างกาย ตามมาด้วยอาการเป็นไข้จากการติดเชื้อ เพราะเม็ดเลือดขาวน้อย โดยอาการของผู้ป่วยจะหนักขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดในร่างกาย
โรคไขกระดูกบกพร่อง จะสังเกตได้จากหน้าตาของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติไป แตกต่างจากโรคไขกระดูกฝ่อ ที่สังเกตจากปริมาณเกล็ดเลือดที่น้อยลงอย่างมากได้ โดยคุณหมอจะสอบถามซักประวัติหลายขั้นตอนประกอบการพิจารณาผลเลือดจากห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติโรคไขกระดูกบกพร่อง
- สอบถามประวัติการทำงาน ลักษณะงาน สภาพแวดล้อม ประวัติการสัมผัสสารเคมีหรือสารกัมมันตรังสี
- สอบถามประวัติการเจ็บป่วยก่อนหน้า
- สอบถามประวัติการใช้ยาต่างๆ ย้อนหลัง 6 เดือน
- สอบถามประวัติการดื่มสุรา และสารเสพติด
- สอบถามประวัติการแต่งงานในครอบครัว เครือญาติ เพื่อตรวจสอบการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม
- ตรวจผลเลือดในห้องปฏิบัติการ เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว, เซลล์เม็ดเลือดแดง และดูการติดเชื้อไวรัสและอื่นๆ
อาการเริ่มต้นของโรคไขกระดูกบกพร่อง
โรคไขกระดูกบกพร่องมีอาการต่อเนื่องกับโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูกอื่นๆ เช่น โรคไขกระดูกฝ่อ รวมถึงโรคมะเร็งในระยะที่กระจายเข้ากระดูกแล้วก็จะตรวจพบความผิดปกติของเม็ดเลือด แต่การระบุโรคไขกระดูกบกพร่องนั้นต้องตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการ เพื่อวัดค่าและใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูความผิดปกติของเม็ดเลือด ดังนี้
- ตรวจพบเม็ดเลือดแดงต่ำ ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดที่มีลักษณะผิดปกติมากกว่า 10%
- ระดับความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงฮีโมโกลบินน้อยกว่า 10 g/dL
- ระดับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลน้อยกว่า 1.8×109/L
- ระดับเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100×109/L
วิธีการรักษาโรคไขกระดูกบกพร่อง
ไขกระดูกบกพร่องเป็นโรคที่มีอาการซ่อนอยู่ในเม็ดเลือด ดังนั้นเมื่อตรวจพบแล้วจึงมีการรักษาตามอาการ ด้วยการถ่ายเลือด ใช้ยา หรือปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดตามความรุนแรงของโรค
แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษา เพื่อหวังผลกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และลดการติดเชื้อ ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด อยู่ในสภาพอากาศที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย
อย่างไรก็ดี วิธีป้องกันการเป็นโรคไขกระดูกบกพร่อง ต้องหลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้สารเคมี หรือสารกัมมันตรังสีอันเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ต้นกำเนิดในระดับยีน และควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่สังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นโรคนี้สามารถสอบถามสิทธิรักษากับโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง), สิทธิรักษาประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
ที่มา :
June 30, 2020 at 05:51PM
https://ift.tt/3i95eqq
ไขกระดูกบกพร่อง สรุปอาการก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3d8X1Q9
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ไขกระดูกบกพร่อง สรุปอาการก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย - ไทยรัฐ"
Post a Comment