Search

(เพิ่มเติม)ธปท.คาดศก.ไทยกลับเป็นปกติปี 64-ต่ออายุซอฟต์โลน อีก 1 ปี - efinanceThai

roe.prelol.com

   ผู้ว่าธปท. ชี้ศก.ไทยผ่านจุดต่ำสุดใน Q2/63 แล้ว คาดทยอยฟื้นตัว-กลับเป็นปกติปลายปี 64 ยันไทยยังไม่จำเป็นต้องกู้ IMF แนะฐานะการเงิน - ระบบธนาคารไทยแกร่ง แต่รับห่วงยอดตกงานมากสุด หวั่นกระทบศก.ระยะยาว ต่ออายุยื่นซอฟต์โลนได้ถึงสิ้นปี 64

   นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการธปท. สำนักงานภาคประจำปี 63 โดยยอมรับว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นวิกฤติโควิดภิวัฒน์ ที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้นทุกประเทศรวมถึงไทย จะต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
 
   ทั้งนี้ไตรมาส 2/63 ถือเป็นช่วงที่แย่และต่ำที่สุด เนื่องจากกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวชะงักงัน ซึ่งหลังจากไตรมาส 2/63 คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นฟูแบบค่อยเป็นค่อยไป และกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ปลายปี 64

   สำหรับภาคอุตสาหกรรม จะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ที่มองว่า จะฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า เนื่องจากยังมีการระบาดอยู่จากต่างประเทศ และวิกฤติโควิดยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเดินทาง รายได้ของประชาชนลดน้อยลง

   “ ที่ผ่านมาเราก้าวข้ามได้ดีกว่าประเทศอื่น ตอนนี้เป็นช่วงที่เราต้องคิดว่าเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟู และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างไร จากประมาณการธปท. มองว่าหากไม่มีการระบาดรุนแรงเหมือนไตรมาส 2/63 แม้อาจมีการระบาดเป็นช่วงๆ บ้าง เรามองว่าจะค่อยๆทยอยฟื้นตัวได้ และกลับเข้าสู่ปกติได้ปลายปี 64 แต่ด้านของการท่องเที่ยวจะหวังให้นักท่องเที่ยวกลับมาไทย 40 ล้านคน คงต้องใช้เวลาหลายปี  ”นายวิรไท กล่าว

   ทั้งนี้ยืนยันว่า ไทยยังไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจมหภาคของไทยยังแข็งแกร่งต่างจากตอนวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ โดยปัจจุบันไทยมีเกินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างสูง มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศค่อนข้างต่ำ ขณะที่สถาบันการเงินไทย มีการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่แข็งแกร่ง เงินกองทุนสูง และมีการตั้งสำรองค่อนข้างมาก รวมถึงมีมาตรฐานบัญชีที่ดี

   “เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก และเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจจริง ระบบการเงิน ดังนั้นที่ผ่านมาเราจึงต้องผสานทุกมาตรการ และวันนี้ระบบการเงินไทยไม่มีปัญหา จึงถือเป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย จึงยืนยันว่า เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF เพราะด้านการเงินเราเข้มแข็งมาก จึงถือว่าเรามีกันชนเศรษฐกิจมหภาคที่ดี ”นายวิรไท กล่าว

   นายวิรไท กล่าวว่า วิกฤติรอบนี้ไม่มีนโยบายใดนโยบายหนึ่งที่จะแก้ไขได้ แต่จะต้องประสานนโยบายและหยิบทุกเครื่องมือที่ภาครัฐมีมาใช้ ซึ่งในภาคการเงินนั้น ธปท.ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันการเงิน ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกหนี้รายย่อย ทั้งการออกมาตรการยืดเวลาการชำระหนี้ การพักชำระหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย
 
   สำหรับที่ผ่านมา ธปท.ได้แบ่งวิกฤติโควิดและออกมาตรการออกมา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกที่มีการระบาดรุนแรง ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง เนื่องจากพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดสร้างแรงกระแทกต่อภาคเศรษฐกิจจริง รวมถึงออกกองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพและเป็นหลังพิงให้กับกองทุนตราสารหนี้ เป็นต้น
 
    ขณะที่ในช่วงที่ 2 ที่ล็อกดาวน์ ซึ่งถือเป็นการเยียวยา โดยออกมาตรการชุดแรกเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีและลูกหนี้รายย่อย เป็นการทั่วไป ทั้งการทบทวนความสามารถในการชำระหนี้ เลื่อนการชำระหนี้ เป็นต้น

   ส่วนขณะนี้อยู่ในช่วงที่ 3 คือการให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ภาระหนี้สอดคล้องกับการชำระหนี้ได้จริง โดยมาตรการนี้จะเน้นลงเฉพาะกลุ่ม ซึ่งจะแตกต่างจากที่ผ่านมาที่คนได้เป็นการทั่วไป แต่ครั้งนี้จะเป็นเฉพาะกลุ่ม ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือได้ตรงจุดมากขึ้น
 
   สำหรับสิ่งที่กังวลมากที่สุด คือ เรื่องการจ้างงาน เนื่องจากสถานการณ์โควิด ส่งผลกระทบต่อภาคบริการ และภาคการผลิต ซึ่งมีการจ้างงานในระดับสูง หลายคนตกงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมองในระยะยาว หากกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานในโลกใหม่ได้ จะทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวในอนาคต

   “ตอนนี้กำลังการผลิตส่วนเกิดสูงในหลายอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวคงไม่ได้กลับมา 40 ล้านคนในช่วง 1-2 ปีนี้ อุตสาหกรรมอาจใช้หุ่นยนต์มากขึ้น กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ตลาดแรงงานจะยากมากขึ้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นจะทำอย่างไรเกี่ยวกับการสร้างงานเพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ”นายวิรไท กล่าว

   ขณะนี้ที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยอมรับว่า จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จากการดำเนินมาตรการต่างๆที่ดำเนินการนั้น คงไม่ทำให้ NPL เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด และมองว่า การปรับโครงสร้างหนี้ที่ดำเนินการนั้น จะทำให้ไม่เกิดปัญหาต่อระบบการเงินในอนาคตได้

   นายวิรไท กล่าวเพิ่มเติมว่า   โลกหลังวิกฤติโควิด-19 จะมีความผันผวนสูงในตลาดเงินและตลาดทุน เนื่องจากมีสภาพคล่องส่วนเกินค่อนข้างมาก จากการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางหลายประเทศ  ซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน  แต่ยืนยันว่าเป็นเรื่องไม่น่ากังวล เนื่องจากไทยมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง

   ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศมองว่าจะสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ดังนั้นจึงเป็นจังหวะที่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะภาคการส่งออกจะต้องคำนึงถึงการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

   “ไม่มีใครรู้ว่าทิศทางค่าเงินจะเป็นอย่างไร ดังนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยง ขณะที่การไหลออกของเงินทุนไม่เป็นเรื่องที่ต้องกังวล เพราะว่าเรามีกันชนต่างประเทศที่เข้มแข็งแม้โควิด-19 จะกระทบแรง แต่เราจะยังเกินบัญชีเดินสะพัดสูงแม้จะน้อยลง แต่ยังเกิน โดยมองว่ามีเงินไหลออกบ้างแต่ไม่กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง”นายวิรไท กล่าว

   ด้านความคืบหน้าของพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (ซอฟต์โลน) นั้น ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟู ซึ่งเบื้องต้น ธปท.เตรียมขยายระยะเวลาการให้เอสเอ็มอีกู้ได้ถึงสิ้นปี 64 จากเดิมจะสิ้นสุดในปีนี้นอกจากนี้ยังได้หารือกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อเข้ามาช่วยค้ำประกันให้ยาวขึ้น เนื่องจากตามพ.ร.ก.ดังกล่าว รัฐชดเชยความเสียหายเพียง 2 ปีแรกเท่านั้น ดังนั้นการให้บสย.เข้ามาค้ำประกันให้ยาวขึ้นนั้น เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ

Let's block ads! (Why?)


July 20, 2020 at 12:31PM
https://ift.tt/30wo7fb

(เพิ่มเติม)ธปท.คาดศก.ไทยกลับเป็นปกติปี 64-ต่ออายุซอฟต์โลน อีก 1 ปี - efinanceThai
https://ift.tt/2zhqZ5D
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "(เพิ่มเติม)ธปท.คาดศก.ไทยกลับเป็นปกติปี 64-ต่ออายุซอฟต์โลน อีก 1 ปี - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.