By Taman Citata Thursday, July 30, 2020 ตามมาด้วย Covid-19 ดัน NPL แบงก์พุ่งแค่ไหน? - efinanceThai roe.prelol.com Covid-19 ดัน NPL แบงก์พุ่งแค่ไหน? efin Review 30 กรกฎาคม 2563 หลังกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ประกาศผลงานไตรมาส 2/63 เห็นได้ชัดว่ากำไรลดลงอย่างน่าตกใจ ตามมาด้วยระดับหนี้เสียและการตั้งสำรอง ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด – 19 “ธนาคาร” ถือว่า เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ และ สนับสนุนนโยบายของรัฐด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจ ทั้งการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม การพักชำระหนี้ และ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย เพื่อประคับประคองลูกค้า ผู้ประกอบการ และ ประชาชนให้ผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปให้ได้ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ได้รวบรวมข้อมูลระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้ *** BBL เพิ่มมากสุด ธนาคารที่ NPL เพิ่มขึ้นมากสุด คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เนื่องจากมีการตั้งสำรองเผื่ออนาคต ตลอดจนการช่วยเหลือลูกค้าของธปท. และ การรวม Permata เข้ามาในงบการเงิน ซึ่งนอกจากจะทำให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นแล้ว NPL ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน *** TMB เพิ่มต่ำสุด ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) หรือ TMB พบว่า NPL เพิ่มขึ้นน้อยสุด หลังธนาคารดำเนินการ Write-off และ ขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ และ ปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันตามประกาศมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้มีการตั้งสำรองที่สูงขึ้นในไตรมาสนี้ เนื่องจากการตั้ง ECL เพิ่มเติม 1,600 ล้านบาท สำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ซึ่งอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ *** SCB-KKP ลดลง ธนาคารที่ NPL ลดลง ประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCB โดย NPL ลดลงส่วนใหญ่มาจากมาตรการจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพที่มีประสิทธิภาพของธนาคารผ่านการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ และ การตัดหนี้สูญ รวมทั้งการเข้าช่วยเหลือลูกหนี้ในลักษณะ Pre-emptive ตามประกาศธปท. ส่วนธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด(มหาชน) หรือ KKP มี NPL ที่ลดลงเช่นกัน โดยมาจากลูกค้ารายย่อย และ เกณฑ์ผ่อนคลายธปท. ทำให้สินเชื่อบางประเภทยังไม่ถูกจัดชั้นเป็น NPL ตลอดจนธนาคารเร่งขาย และ Write-off ออกไปบางส่วน ส่งผลให้ NPL ลดลง สถานการณ์ NPL ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหลายฝ่ายประเมินว่า จะลากยาวไปถึงปีหน้า และ กว่าที่กำไรธนาคารจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิม ต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปี เพราะฉะนั้น เราจะเห็นธนาคารตั้งสำรองระดับสูง และยังเป็นอีกปัจจัยที่ยังกดดันต่อผลกำไรในระยะต่อไป บทความอื่นๆที่น่าสนใจ RECOMMENDED NEWS ข่าวหุ้นยอดนิยม Let's block ads! (Why?) July 30, 2020 at 03:05PM https://ift.tt/3faWtth Covid-19 ดัน NPL แบงก์พุ่งแค่ไหน? - efinanceThai https://ift.tt/3d8X1Q9 Mesir News Info Israel News info Taiwan News Info Vietnam News and Info Japan News and Info Update Bagikan Berita Ini
0 Response to "Covid-19 ดัน NPL แบงก์พุ่งแค่ไหน? - efinanceThai"
Post a Comment