Search

ป่วยโควิด รักษาหายแล้ว กลับมาติดเชื้อซ้ำ เคสใหม่ที่ไม่ปกติ หวั่นกลายพันธุ์รุนแรง - ไทยรัฐ

roe.prelol.com

ตราบใดที่ยังไม่มียารักษา หรือวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ขออย่าประมาท ต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง เพราะเชื้อร้ายตัวนี้ไม่ธรรมดา มีผู้เคยติดเชื้อไปแล้ว กลับมาป่วยรอบสอง ในกรณีของหนุ่มชาวฮ่องกง ติดเชื้อเมื่อปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 2 อาทิตย์ จนหายออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และอีก 4 เดือนต่อมา เดินทางไปประเทศสเปน และเดินทางกลับเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิดอีกครั้ง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ในฐานะนักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ระบุว่า ประเด็นเรื่องของการติดเชื้อซ้ำของผู้ป่วยโควิด คงจะมีรายงานออกมาเรื่อยๆ เมื่อสัปดาห์ก่อนหลังจากที่เคสในฮ่องกงพบผู้ป่วยติดเชื้อรอบที่สอง หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันได้มีเคสในลักษณะใกล้เคียงกันรายงานออกมาจาก 2 ประเทศในยุโรป คือ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ โดยผู้ป่วยทั้ง 2 คนตรวจพบเชื้ออีกครั้งหลังจากหายป่วย แต่ทั้งหมดไม่มีอาการป่วยใดๆ ซึ่งแสดงว่าภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากการติดเชื้อครั้งแรก น่าจะป้องกันการก่อเกิดโรคครั้งที่สองได้

ในวารสารวิชาการ Lancet ได้มีการลงรายงานชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับเคสผู้ป่วยรายหนึ่ง ในเมืองรีโน รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยรายนี้อายุเพียง 24 ปี สุขภาพทั่วไปแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงการติดเชื้อไวรัสที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น HIV ผู้ป่วยรายนี้เริ่มมีอาการป่วยตอนปลายเดือน เม.ย. ด้วยอาการเจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และท้องเสีย แต่อาการไม่รุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล หลังจากมีอาการไม่นาน พบว่าเป็นโควิด พักฟื้นไม่นานก็หายเป็นปกติ และการตรวจมีผลเป็นลบ กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ

“หลังจากนั้นประมาณเดือนกว่าๆ ช่วงปลายเดือน พ.ค. คนไข้คนเดิมเริ่มมีไข้ ปวดเวียนศีรษะ ไอ คลื่นไส้ ท้องเสีย หลังเข้าพบแพทย์ทำการเอกซเรย์และกลับมารักษาตัวที่บ้าน หลังจากนั้น 5 วัน อาการดูเหมือนจะแย่ลง คนไข้กลับมาโรงพยาบาลด้วยอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ จำเป็นต้องให้ออกซิเจนในโรงพยาบาล หลังเข้าแอดมิดที่โรงพยาบาล และทำการเอกซเรย์ปอด พบอาการปอดบวม และที่สำคัญผลตรวจเป็นบวกอีกครั้ง เมื่อตรวจแอนติบอดี้ต่อไวรัสในเลือดให้ผลเป็นบวก ผู้ป่วยรายนี้สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้เหมือนผู้ป่วยคนอื่นๆ”

เมื่อนำรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่ตรวจพบในตัวอย่างที่ป่วยครั้งแรก มาเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมของไวรัสในตัวอย่างครั้งที่สอง พบว่า ถึงแม้ว่าไวรัสจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ 20C แต่รหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ บ่งชี้ว่า การติดเชื้อครั้งที่ 2 เป็นการได้รับเชื้อใหม่ แทนที่จะเป็นเชื้อตัวเดิมที่เปลี่ยนแปลงตัวเองในร่างกายของผู้ป่วยในช่วง 30 กว่าวันหลังจากหายป่วยครั้งแรก

ประเด็นสำคัญคือ เคสนี้นับเป็นเคสแรกที่ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อครั้งแรก "ไม่สามารถป้องกันโฮสต์จากการติดเชื้อซ้ำได้" น่าเสียดายที่ว่า ข้อมูลที่รายงานมามีค่อนข้างจำกัด เราไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากการติดเชื้อครั้งแรก ทั้งปริมาณของแอนติบอดี้ หรือการตอบสนองของทีเซลล์ มีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นข้อมูลชิ้นสำคัญให้เราเข้าใจระบบภูมิกันต่อไวรัสโควิดมากขึ้น โดยเฉพาะคำถามที่ว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่จะเริ่มมีใช้กัน เท่าไรถึงจะเพียงพอ

“อีกหนึ่งประเด็นที่คนอาจคิดไปได้คือ ไวรัสที่ติดเชื้อครั้งที่ 2 จะกลายพันธุ์จนรุนแรงขึ้น จนภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอาไม่อยู่ ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ แต่อย่าลืมว่า เคสนี้เป็นเพียงเคสเดียว ถ้าไวรัสกลายพันธุ์จนดุขึ้นจริงๆ เราควรจะพบเคสในลักษณะเดียวกันสูงขึ้นกว่านี้มากๆ และที่สำคัญข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการกลายพันธุ์ ที่พบในไวรัสในตัวอย่างครั้งที่สอง จะมีผลใดๆ ต่อกลไกการก่อโรคของไวรัส ตอนนี้เรายังเข้าใจไวรัสตัวนี้น้อยมาก เคสแปลกๆ เกิดขึ้นแทบทุกวันทั่วโลก เมื่อจิ๊กซอว์ต่อจนเป็นรูปร่างชัดเจน เราจะเข้าใจไวรัสตัวนี้มากขึ้นแน่นอน”.

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)


August 30, 2020 at 05:28PM
https://ift.tt/2YPqsBH

ป่วยโควิด รักษาหายแล้ว กลับมาติดเชื้อซ้ำ เคสใหม่ที่ไม่ปกติ หวั่นกลายพันธุ์รุนแรง - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2zhqZ5D
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ป่วยโควิด รักษาหายแล้ว กลับมาติดเชื้อซ้ำ เคสใหม่ที่ไม่ปกติ หวั่นกลายพันธุ์รุนแรง - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.