Search

เรื่องไม่ควรมองข้ามในการเริ่มต้นอนุพันธ์ | เจนวิทย์ ชินกุลกิจนิวัฒน์ - กรุงเทพธุรกิจ

roe.prelol.com

เจนวิทย์ ชินกุลกิจนิวัฒน์

ดูบทความทั้งหมด

กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย)

21 กันยายน 2563

9

จากประสบการณ์ของผมในการมีส่วนร่วมพัฒนาตราสารอนุพันธ์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ตั้งแต่วันแรกที่ประเทศไทยมีกองทุนหุ้น ETF ตอนที่ SET50 Futures เริ่มทำการซื้อขายเป็นครั้งแรก หรือตอนที่ DW ตัวแรกในประเทศไทยได้เริ่มให้นักลงทุนได้ซื้อขายกัน ทำให้มีโอกาสได้รับฟังประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้กับนักลงทุนที่หลากหลาย มีโอกาสได้เห็นนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มศึกษาอนุพันธ์จนปัจจุบันกลายเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ วันนี้ผมจึงถือโอกาสนำข้อคิดที่ได้รับจากประสบการณ์เหล่านี้มาเล่าให้นักลงทุนที่เริ่มเข้ามาลงทุนตราสารอนุพันธ์กัน

เริ่มจากอย่าศึกษาอนุพันธ์ด้วยอคติ เข้าใจกลไกแล้วจะประสบความสำเร็จ

กำไรขาดทุนของตราสารอนุพันธ์ที่แกว่งตัวแรงมากๆ ทำให้ในความรู้สึกของนักลงทุนที่เริ่มต้นจะไปนึกถึงการเก็งกำไรหุ้นซิ่งที่เชื่อว่ามีเจ้ามือคอยดูแลราคาอยู่ และภาพที่ว่ากำไรของเจ้ามือหุ้นมาจากการขาดทุนของนักลงทุน พอเริ่มมาเทรดอนุพันธ์ เห็นราคาแกว่งแรงๆก็มีความเชื่อว่าอนุพันธ์ตัวนั้นมีเจ้ามือปั่นราคากระชากขึ้นลง ความเชื่อตรงนี้ทำให้การเริ่มต้นศึกษาอนุพันธ์ของนักลงทุนนั้นทำได้ยาก เพราะจะตามมาด้วยอคติ ในทางตรงกันข้ามนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะศึกษากลไกที่แท้จริงของการเคลื่อนไหวของราคาอนุพันธ์ว่าเกิดจากอะไร เช่นผู้ดูแลสภาพคล่องต้องไปซื้อหุ้นแม่เท่าไหร่ ตอนไหน อัตราทดของ DW ต้องเลือกอย่างไร

ตัวอย่างเช่น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หุ้นอ้างอิง DW หลายตัวมีราคาปรับขึ้นไปที่ราคา Ceiling หรือลงไปแรงที่ราคา Floor ทำให้ในบางครั้ง DW ที่อ้างอิงราคาอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ออก DW และมีโอกาสที่จะทำกำไรได้จากการที่ผู้ออกไม่สามารถขาย DW เพิ่มได้อีก นักลงทุนที่ศึกษากลไกมาอย่างดีก็สามารถทำกำไรได้อย่างมาก

อย่าศึกษาแค่ทฤษฎีอนุพันธ์ แต่ต้องเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์

การศึกษาพื้นฐานทฤษฎีที่ใช้คำนวณราคาอนุพันธ์เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องอย่าลืมว่าทฤษฎีที่เขียนไว้มักจะมีการกำหนดสมมติฐานไว้เช่นกัน และเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามสมมติฐานนั้น ทำให้หลายๆครั้งราคาอนุพันธ์ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎี ตัวอย่างเช่น ราคา SET50 Futures ในประเทศไทยมักจะเทรดต่ำกว่า ราคาทฤษฎีที่คำนวณจากดัชนี SET50 เสมอจนกระทั่งใกล้ๆหมดอายุ หรือในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาราคา Gold Futures ในตลาดต่างประเทศเคยเทรดแพงกว่าราคา Gold Spot มากถึง 50-70 เหรียญต่อทรอยออนซ์ติดต่อกันเป็นอาทิตย์

การที่ยึดติดทฤษฎีจนเกินไปอาจทำให้เรามองข้ามบางประเด็นในทางปฏิบัติ เช่น ทฤษฎี Futures จะไม่พูดถึงเรื่องการปรับเพิ่มขึ้นหลักประกัน หรือหลักประกันพิเศษ ที่ทำให้นักลงทุนต้องถูกบังคับปิดสถานะไปก่อน หรือแม้กระทั่งเรื่องของสภาพคล่องของอนุพันธ์บางตัวที่ไม่สม่ำเสมอก็อาจทำให้นักลงทุนเสียหายหนักได้ เช่น นักลงทุนที่ Short SET50 Option ปริมาณมากๆ พอช่วงตลาดแกว่งตัวแรงๆไม่สามารถล็อคกำไรหรือตัดขาดทุนได้ ตำราอนุพันธ์ก็จะไม่ได้บอกไว้ว่าต้องทำอย่างไร การศึกษาเพิ่มเติมกับผู้มีประสบการณ์จริงควบคู่ไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น คำอธิบายว่าในสถานการณ์ไหนที่ราคา Futures มักจะถ่างออกจากราคาทฤษฎีเป็นพิเศษ การสอนให้เรารู้จักเผื่อเงินหลักประกันไว้เยอะๆ ยิ่งหุ้นแกว่งเพิ่มขึ้นขนาดไหนถึงมีโอกาสที่จะต้องถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม หรือในกรณีที่อนุพันธ์ที่เราถือไว้สภาพคล่องไม่พอ นักลงทุนต้องรู้จักล๊อคกำไรผ่านอนุพันธ์อีกตัวที่สภาพคล่องสูงกว่าด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น

การศึกษาจากผู้มีประสบการณ์นั้น ควรเป็นการศึกษาโดยตรงกับโบรคที่เชี่ยวชาญอนุพันธ์นั้นๆ หรือนักลงทุนที่มีประสบการณ์การเทรดมาอย่างยาวนาน ไม่ควรเป็นการศึกษาข้อมูลผ่านช่องทาง Social Media ที่ไม่รู้ที่มาที่ไป หรือไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ให้ข้อมูลนั้นมีประสบการณ์จริงมากน้อยแค่ไหน ผมเชื่อว่าในอนาคตจะมีตราสารอนุพันธ์ออกมาให้เราได้รู้จักเรื่อยๆในตลาดทุนไทย แต่ไม่ว่าอนุพันธ์จะใหม่และซับซ้อนแค่ไหน แต่หลักการพื้นฐานของอนุพันธ์และกลไกการทำงานนั้นมีความคล้ายคลึงกันเสมอ ถ้าเราเข้าใจหลักการตรงนี้ก็จะไม่ต้องกังวลกับการเรียนรู้ตราสารอนุพันธ์ใหม่ๆในอนาคต และสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

ดูบทความทั้งหมดของ เจนวิทย์ ชินกุลกิจนิวัฒน์

Let's block ads! (Why?)


September 21, 2020 at 05:02AM
https://ift.tt/366jkWf

เรื่องไม่ควรมองข้ามในการเริ่มต้นอนุพันธ์ | เจนวิทย์ ชินกุลกิจนิวัฒน์ - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/3d8X1Q9
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เรื่องไม่ควรมองข้ามในการเริ่มต้นอนุพันธ์ | เจนวิทย์ ชินกุลกิจนิวัฒน์ - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.